ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

หมายถึง การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นและเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มี 4 ประเภท ดังนี้

1. การเชื่อมต่อผ่านช่องทาง COM 1 COM 2 และ LPT
การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ ลงทุนไม่มากนัก แต่ประโยชน์ที่ได้จะอยู่ในวงจำกัด




2. การเชื่อมต่อเข้ากับบัฟเฟอร์เครื่องพิมพ์
เป็นการเชื่อมต่อโดยการเเบ่งใช้เครื่องพิมพ์และใช้ทรัพยากรเครื่องพิมพ์ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยรูปเเบบเป็นการต่อบัฟเฟอร์เข้ากับเครื่องพิมพ์



3. การเชื่อมต่อผ่านระบบผู้ใช้หลายคนหลายช่องทาง
ระบบที่ผู้ใช้หลายคนขนาดเล็กที่อยู่บนไมโครคอมพิวเตอร์ มีหลายระบบ เช่น ระบบยูนิกส์ ระบบเอสซีโอ ระบบดังกล่าวสามารถต่อเชื่อมขยายเข้ากับสถานีย่อยได้มาก มีข้อดีก็คือ เป็นระบบที่ใช้งานร่วมกันได้ในราคาประหยัด มีซอฟต์แวร์สนับสนุนอยู่มาก เช่น ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีระบบรักษาความปลอดภัย



4. การเชื่อมต่อระบบสลับสายข้อมูล
เป็นวิธีการต่อขยายระบบง่ายๆโดยใช้มือช่วย ระบบสลับสายข้อมูลทำหน้าที่เหมือนชุมสายโทรศัพท์ระบบเก่า การใช้ระบบสลับสายข้อมูลเป็นการเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบง่ายๆ แต่สามารถปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อระหว่างเครือข่าย

1. เครื่องบริการปลายทาง
การขยายเครื่องบริการปลายทางของระบบออกไป มีข้อดีคือ ใช้เครือข่ายเป็นตัวเชื่อมต่อได้


2. เครื่องบริการงานพิมพ์
เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อทำให้การต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับเครือข่ายได้หลายเครื่อง

3. บริดจ์ (Bridge) มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ 
โดยจะทำหน้าที่เป็นสะพาน สำหรับข้อมูลสองเครือข่าย แต่จะกันสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ในแต่ละส่วนออกจากกัน ทำให้ไม่เกิดการชนกันของข้อมูล



4. อุปกรณ์จัดหาเส้นทาง( Router) 
เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยในการหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดและเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน หรือ คนละเครือข่าย เพื่อให้การเดินทางของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง เป็นไปอย่างถูกต้อง 


http://www.yupadeepai.com/unit057.php 

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปร่างเครือข่าย

มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการอออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่ารูปร่างเครือข่าย (network topology) การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ ได้แก่

1. แบบดาว ( Star Network )
มีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้โดยทันที



2. โครงสร้างเเบบแหวน ( Ring Network )
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวน  การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคือ เมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ 


3. โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส ( Bus Network )
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไป โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล  ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ แต่มีข้อดีคือ โครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก 


วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูล

 การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกันด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล มี 3 ลักษณะ คือ

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น


2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น 



3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสารทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์ เป็นต้น 



             http://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1. ข้อใดต่อไปนี้บอกองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลใด้ครบถ้วนที่สุด
  1.  ผู้รับ ผู้ส่ง
  2. ผู้รับ ผู้ส่ง ตัวกลาง
  3. ข่าวสาร โปรโตคอล ตัวกลาง
  4. ผู้รับ ผู้ส่ง โปรโตคอล ตัวกลาง
  5. ผู้รับ ผู้ส่ง ข่าวสาร ตัวกลาง โปรโตคอล
2. รูปแบบโครงสร้างข้อมูลใดที่มีหน้าที่ควบคุมการติดต่อ รับ-ส่ง ข้อมูลร่างโหนดต่างๆในระบบ
  1. ชั้นจัดการนำส่งข้อมูล
  2. ชั้นเชื่อมต่อเครือข่าย
  3. ชั้นควบคุมเครือข่าย
  4. ชั้นกำหนดหน้าต่างสื่อสาร
  5. ชั้นการประยุกต์
3. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของรูปร่างเครือข่ายแบบดาว
  1. ง่ายต่อการติดตั้ง
  2. การรับ-ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
  3. หากอุปกรณ์เสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ
  4. การตอบสนองเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
  5. เครื่องศูนย์กลางมีราคาถูก
4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1. ใช้งานคอมพิวเตอร์ใด้พร้อมกัน
  2. เรียกใช้ข้อมูลต่างๆร่วมกันใด้
  3. เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ใด้เหมือนจริงมากขึ้น
  4. ลดต้นทุนในการซื้ออุปกรณ์
  5. ใด้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
5. เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบใด มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในรูปแบบวงแหวน
  1. อิเทอร์เน็ต
  2. เราท์เตอร์
  3. โทแกนริง
  4. สวิตซ์ชิ่ง
  5. บัสเน็ตเวิร์ค